“โรคสะเก็ดเงิน” เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังอย่างหนึ่งที่พบได้ 1-3% ของประชากรทั้งหมด โดยมักมีผื่นเป็นปื้นแดง มีขุยสีขาวหนากระจายตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ตามข้อเข่า ข้อศอก หลัง ก้นกบ และมักมีผื่นขุยบนหนังศีรษะร่วมด้วยได้มากถึง 80% ของผู้ป่วยสะเก็ดเงินทั้งหมด อีกทั้งกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ขุยบนหนังศีรษะจะเป็นอาการเริ่มแรกของโรคสะเก็ดเงินที่ศีรษะ หรือสะเก็ดเงินที่หัวได้
ขุยบนหนังศีรษะของโรคสะเก็ดเงินที่ศีรษะ หรือสะเก็ดเงินที่หัว มักเป็นขุยสีขาวหนา ที่มีขอบเขตชัดเจนบนหนังศีรษะ ส่วนมากจะมีปื้นขุยเลยขอบไรผมได้ อาจมีอาการคันร่วมด้วย แต่โดยทั่วไปไม่ทำให้ผมร่วง ในขณะที่ขุยรังแคทั่วไป มักจะไม่เป็นขุยหนานัก ไม่เห็นขอบเขตชัดเจนไม่เป็นแนวเลยไรผม และอาจทำให้ผมร่วงได้ ทั้งนี้ ขุยบนหนังศีรษะโรคสะเก็ดเงินที่ศีรษะ หรือสะเก็ดเงินที่หัวสามารถรักษาได้โดยหลีกเลี่ยงการแกะเกา เพราะจะยิ่งเป็นการกระตุ้นให้มีการลอกของหนังศีรษะ มีขุยมากขึ้น รวมทั้งหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา แอลกอฮอล์ เพราะเป็นสิ่งกระตุ้นให้โรคสะเก็ดเงินเห่อได้ ทั้งในส่วนของผิวหนังและหนังศีรษะ และการทำใจให้สบาย พักผ่อนออกกำลังกายให้เพียงพอการหลีกเลี่ยงความเครียดและการอดนอนก็จะช่วยได้นอกจากนี้ การหมักละลายขุยที่หนังศีรษะ เช่น การใช้ยาละลายขุยและน้ำมันบางชนิด โดยอาจหมักไว้ที่หนังศีรษะ แล้วคลุมด้วยถุงครอบพลาสติกข้ามคืน แนะนำให้ทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ซึ่งการละลายขุยที่หนังศีรษะนี้เป็นส่วนสำคัญมากในการรักษาโรคสะเก็ดเงินที่ศีรษะ หรือสะเก็ดเงินที่หัว เพราะเมื่อขุยละลายออกได้มาก ก็จะช่วยให้หนังศีรษะสามารถดูดซึมยาที่ลดการอักเสบอื่น ๆ ได้ดีขึ้น
สำหรับสาเหตุการเกิดโรคสะเก็ดเงินนั้น ในปัจจุบันก็ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่ชัดเจนแน่นอน แต่เชื่อว่าเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม และจากการศึกษาพบว่าในกลุ่มคนที่มียีนบางตัวที่จำเพาะต่อโรคสะเก็ดเงินก็จะมีอาการของโรครุนแรงมากกว่าคนที่ไม่มียีนจำเพาะนั้นได้
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ โรคสะเก็ดเงินไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เนื่องจากรอยโรคบางส่วนอยู่ในบริเวณที่ไม่มีเสื้อผ้าปกคลุม จึงมักมีคนเข้าใจผิดว่าโรคสะเก็ดเงินเป็นโรคติดต่อ จึงมีผลต่อความมั่นใจในการดำเนินชีวิตและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้
ประเภทของผื่นโรคสะเก็ดเงินมีอยู่ 4 ชนิด ได้แก่
- ชนิดเป็นปื้นหนา เป็นชนิดของผื่นสะเก็ดเงินที่พบได้บ่อยที่สุด มักพบเป็นผื่นปื้นแดง ขอบเขตชัดเจน มีขุยหนา ซึ่งบางครั้งมองเห็นเป็นขุยสีเงิน จึงเป็นที่มาของชื่อโรคที่เรียกว่า สะเก็ดเงิน นอกจากนี้อาจมีอาการคันร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ ผื่นมักกระจายตัวอยู่ตามข้อศอก เข่า ก้นกบ หนังศีรษะ หรือกระจายทั่วตัวได้ ซึ่งในกรณีที่โรคมีความรุนแรงมาก ผื่นแดงกระจายทั่วร่างกาย ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดแสบบริเวณผื่น หรือจนมีไข้ร่วมด้วยได้
- ชนิดเป็นผื่นเล็ก ๆ กระจาย เป็นผื่นสะเก็ดเงินชนิดที่มักพบได้หลังจากมีอาการเจ็บป่วย ไม่สบาย เช่น หลังจากมีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนประมาณ 2-3 สัปดาห์ ก็อาจพบได้ ผื่นนี้มักพบได้ในเด็ก ในวัยรุ่น มีลักษณะผื่นเป็นผื่นสีแดงขนาดเล็กไม่เกิน 1.5 เซนติเมตร มีขุยไม่มากนัก และมีผื่นกระจายทั่วไปตามตัว แขน และขา อาจพบได้ตั้งแต่ในครั้งแรกของการเป็นสะเก็ดเงิน หรือพบเมื่อผื่นกำเริบหลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นสะเก็ดเงินมาแล้วก็เป็นได้
- ชนิดเป็นตุ่มหนอง ผื่นสะเก็ดเงินชนิดนี้ มักจะมีลักษณะเป็นตุ่มหนองกระจายตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่นกระจายตามตัว แขนขา หรือกระจายเฉพาะที่ ที่บริเวณฝ่ามือฝ่าเท้าเท่านั้นก็ได้ ซึ่งในการวินิจฉัยจำเป็นต้องซักประวัติเพิ่มเติม ทั้งประวัติการใช้ยา การเจ็บป่วยอื่น ๆ ตลอดจนการตรวจร่างกายที่ละเอียดเพื่อการวินิจฉัยแยกโรคกับโรคอื่น ๆ ที่อาจมีลักษณะผื่นคล้ายคลึงกัน นอกจากนี้ ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องสะกิดชิ้นเนื้อทางผิวหนังส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคด้วย และในกรณีที่มีอาการรุนแรงมาก ผู้ป่วยก็อาจมีผิวหนังลอก แสบผิวหนัง และมีไข้ร่วมด้วยได้
- ชนิดเป็นผื่นแดงทั่วตัว ผื่นสะเก็ดเงินชนิดนี้พบได้ไม่บ่อยนัก แต่มีความรุนแรงมาก โดยจะพบเป็นผื่นแดงอยู่เกือบทั่วทั้งตัว โดยมีพื้นที่ของผื่นมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของร่างกาย อาจมีขุยหรือไม่มีก็ได้ แต่มักมีอาการทางระบบอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไข้สูง อ่อนเพลีย ขาดน้ำและเกลือแร่ เนื่องจากร่างกายสูญเสียความร้อนไปทางบริเวณรอยโรคสะเก็ดเงินที่กระจายอยู่ทั่วตัว
เคล็ดลับในการดูแลสะเก็ดเงินที่ศีรษะ หรือสะเก็ดเงินที่หัว
โดยปกติแล้วผิวหนังบริเวณที่เป็นสะเก็ดเงินที่ศีรษะ หรือสะเก็ดเงินที่หัวจะแห้ง แสบและมีลักษณะแข็ง การทำให้สะเก็ดเงินอ่อนลงและหลุดออกเป็นสิ่่งแรกที่เราควรทำเพื่อให้การใช้ยาทาจากภายนอกได้ผลเต็มที่ เพราะซึมเข้าสู่ผื่นสะเก็ดเงินที่ศีรษะ หรือสะเก็ดเงินที่หัวได้เต็มที่
ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ผื่นสะเก็ดเงินที่ศีรษะ หรือสะเก็ดเงินที่หัวอ่อนลงมักมีส่วนผสมของ Salicylic Acid ยูเรีย กรดแลคติค และฟีนอล ทาทิ้งไว้ตามเวลาที่แนะนำนานแค่ไหนขึ้นกับคำแนะนำการใช้ของแต่ละผลิตภัณฑ์ สะเก็ดเงินที่ศีรษะ หรือสะเก็ดเงินที่หัวจะอ่อนตัวและหลุดลอกออกไปตอนที่เราล้างออกและสระผมด้วยแชมพู เวลาที่เห็นจะเหมาะสมในการใช้ผลิตภัณฑ์คือ เวลาก่อนนอน เราอาจจะทาผลิตภัณฑ์ก่อนนอน เสร็จแล้วนำหมวกอาบน้ำมาครอบไว้ก็ได้
การใช้น้ำอุ่นล้างบนศีรษะ(ไม่ใช่น้ำร้อน)และตบศีรษะเบาๆเหมือนช่างสระผมทำที่ร้านตัดผม จะช่วยให้สะเก็ดเงินที่ศีรษะ หรือสะเก็ดเงินที่หัวหลุดออกได้ง่ายขึ้น
อีกวิธีหนึ่งที่นิยมกันคือ ใช้โลชั่น ครีม น้ำยา น้ำมันหรือขี้ผึ้ง (โลชั่น ครีมและขี้ผึ้งต้องเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับสะเก็ดเงินที่ศีรษะ หรือสะเก็ดเงินที่หัวเท่านั้น แต่ถ้าเป็นน้ำมันจะใช้เป็นน้ำมันสปาก็ได้) ทาบริเวณสะเก็ดเงินที่ศีรษะ หรือสะเก็ดเงินที่หัว จากนั้นทำให้หนังศีรษะชื้นด้วยการเอาผ้าชุบน้ำร้อนมาพันหรือปิดไว้ ถ้าจะให้ง่ายกว่านั้นอาจจะใช้เป็นหมวกอบไอน้ำแทนก็ได้ แต่ไม่ควรปรับอุณหภูมิให้ร้อนจนเกินไป
หลังจากที่เราทำให้สะเก็ดเงินที่ศีรษะ หรือสะเก็ดเงินที่หัวอ่อนลงแล้ว ทีนี้ก็ถึงเวลาต้องเอาสะเก็ดเหล่านั้นออกด้วยการใช้แปรงหรือหวี โดยเลือกใช้แปรงหรือหวีที่ซี่ไม่คมและช่วยนวดหนังศีรษะ แปรงเบาๆก็จะช่วยให้สะเก็ดเงินที่ศีรษะ หรือสะเก็ดเงินที่หัวหลุดออกได้ จากนั้นก็ล้างศีรษะด้วยน้ำอุ่นและสระผมได้ตามปกติ ระวังนิดนึง การใช้หวีไม่ถูกประเภทและใช้ไม่ถูกวิธี เช่น มีซี่คมเกินไปหรือแปรงหนังศีรษะแรงเกินไป อาจะทำให้เกิดการระคายเคือง อักเสบและติดเชื้อบนหนังศีรษะได้
หลังจากทีสระผมเสร็จแล้วก็ถึงเวลาใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาบริเวณที่เป็น โดยหยดหรือทาลงบริเวณที่เป็นโดยตรง เชื่อว่าหลายคนคงเคยไปร้านเสริมสวย การทายา น้ำมัน ครีม ขี้ผึ้งหรืออะไรก็แล้วแต่ ต้องมีการแหวกผมออกแล้วทาหรือหยดลงไป เพื่อให้เข้าถึงบริเวณที่เป็นสะเก็ดเงินที่ศีรษะ หรือสะเก็ดเงินที่หัวได้เต็มที่ ระวังอย่าให้เข้าตา
หลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ทาบนหนังศีรษะแล้ว ปัญหาที่มักจะเกิดตามมาคือ การทิ้งคราบหรือกลิ่นบนที่นอนหรือปลอกหมอน ผลิตภัณฑ์บางชนิดทิ้งคราบบนปลอกหมอนและมีกลิ่นแรง หากไม่ต้องการให้ปลอกหมอนและผ้าปูสวยๆเปื้อนเลอะเทอะ เราอาจใช้ถุงพลาสติก ผ้าขนหนู ปูรองบริเวณที่สัมผัสกับศีรษะเวลานอน
หากเรามีสะเก็ดเงิน บริเวณหน้าผาก คอ และหู ให้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สะเก็ดเงินให้ถูกกับผิวบริเวณนั้น เพราะผลิตภัณฑ์บางตัวใช้บนศีรษะได้แต่ใช้กับผิวบริเวณเหล่านี้ไม่ได้
อาการคันกับสะเก็ดเงินที่ศีรษะ หรือสะเก็ดเงินที่หัวเป็นของคู่กัน ถ้าเรามีอาการคันศีรษะบริเวณที่เป็นสะเก็ดเงินที่ศีรษะ หรือสะเก็ดเงินที่หัว สาเหตุส่วนใหญ่จะเกิดจากผิวหนังบริเวณนั้นแห้งและขาดความชุ่มชื้น จากอาการของโรคเองก็ดี จากผลิตภัณฑ์บางตัวที่เราใช้อยู่บางตัวก็ดี แนะนำให้ใช้ครีมนวดผมหลังสระ(สำหรับสะเก็ดเงินที่ศีรษะ หรือสะเก็ดเงินที่หัว) และทาน้ำมันสปาเพื่อลดขุยขาวและลดการแสบตึงผิวหนังศีรษะเพิ่มเติมก็ได้
หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม น้ำยาย้อมผม ดัดผมหรือผลิตภัณฑ์ใดๆที่อาจสร้างความระคายเคืองต่อหนังศีรษะ ซึ่งอาจทำให้อาการสะเก็ดเงินที่ศีรษะ หรือสะเก็ดเงินที่หัวปะทุและลุกลามได้ สิ่งที่สำคัญที่ก่อให้เกิดโรคสะเก็ดเงินที่ศีรษะ หรือสะเก็ดเงินที่หัวก็คือ ปัจจัยการกระตุ้น ซึ่งอาจทำให้โรคกำเริบได้ มักเกิดขึ้นได้จากการแกะเกาผิวหนัง ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ รับประทานอาหารหมักดอง เจ็บป่วย ไม่สบาย มีภาวะเครียด อดนอน และรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาต้านมาลาเรีย ยาลิเทียม ยาลดความดันโลหิตบางชนิด เป็นต้น
แหล่งอ้างอิง :
-ผศ.นพ.วาสนภ วชิรมน หน่วยผิวหนังและเลเซอร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
-อ.พญ.เปรมจิต จันทองจีน แผนกผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล