สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
เกิดจากภาวะหย่อนสมรรถภาพของหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหาร (Lower esophagel sphincter – LES) ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดส่วนนี้ปิดไม่สนิท จึงเปิดช่องให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหารและลำคอ น้ำย่อยซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดก็จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุของอวัยวะเหล่านี้ ทำให้เกิดอาการไม่สบายและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา
โดยภาวะปกติในขณะที่เรากลืนอาหารนั้น กล้ามเนื้อหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารนี้จะหย่อนคลายตัวเพื่อเปิดให้อาหารไหลผ่านลงไปในกระเพาะอาหาร เมื่ออาหารไหลผ่านลงไปกระเพาะจนหมดแล้ว หูรูดนี้ก็จะหดรัดตัวเพื่อปิดกั้นไม่ให้อาหารและน้ำย่อยซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหารจนทำอันตรายต่อเยื่อบุหลอดอาหารได้
สาเหตุที่ทำให้หูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารหย่อนสมรรถภาพนั้น ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากความเสื่อมตามอายุหรือหูรูดยังเจริญไม่เต็มที่ (ในทารก) หรือมีความผิดปกติโดยกำเนิด
อาการของโรคกรดไหลย้อน
- ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบตรงลิ้นปี่หรือยอดอก เรียกว่า อาการแสบร้อนกลางอก (Heartburn) ซึ่งเป็นอาการสำคัญของโรคนี้ แต่พบในคนปกติเป็นครั้งคราวได้ โดยอาการนี้จะเกิดขึ้นหลังการรับประทานอาหารเข้าไปในปริมาณมาก ประมาณ 30-60 นาที หรือหลังรับประทานอาหารแล้วล้มตัวลงนอนราบ นั่งงอตัว หรือโค้งตัวลงต่ำ มีการรัดเข็มขัดแน่นหรือใส่กางเกงคับเอว โดยผู้ป่วยมักจะมีอาการแบบเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ซึ่งแต่ละครั้งมักจะมีอาการปวดนานประมาณ 2 ชั่วโมง ในบางรายอาจมีอาการปวดแสบร้าวจากยอดอกขึ้นไปถึงคอหอย คล้ายโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction) หรือมีอาการจุกแน่นยอดอกคล้ายอาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ หรือเรอบ่อย
- บางรายอาจมีอาการขย้อนอาหารหรือเรอเอาน้ำย่อยรสเปรี้ยวขึ้นไปที่คอหอย หรือรู้สึกมีรสขมของน้ำดี หรือรสเปรี้ยวของกรดในปากหรือคอ หรือหายใจมีกลิ่น
บางรายตอนตื่นนอนอาจรู้สึกขมคอ เปรี้ยวปาก อาจมีเสียงแหบ (เนื่องจากน้ำย่อยระคายเคืองจนกล่องเสียงอักเสบ) เจ็บคอ แสบลิ้น หรือไอเรื้อรัง (เนื่องจากน้ำย่อยระคายเคืองคอหอยและหลอดลม) เรอบ่อย (เนื่องจากภาวะมีน้ำย่อยและอาหารบางส่วนค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร) ซึ่งผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์เนื่องจากอาการเหล่านี้แบบเรื้อรัง - ในรายที่มีภาวะกรดไหลย้อนรุนแรง (ไหลขึ้นไปถึงปากและคอหอย) อาจมีอาการกระแอมไอบ่อย หรือรู้สึกมีเสมหะอยู่ในคอหรือระคายคอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังรับประทานอาหารหรืออยู่ในท่านอนราบ
- บางรายอาจมาพบแพทย์ด้วยภาวะแทรกซ้อน เช่น มีอาการกลืนอาหารแข็งลำบาก เนื่องจากปล่อยให้เกิดภาวะหลอดอาหารอักเสบเรื้อรังจนตีบตัน
- ในรายที่มีภาวะกรดไหลย้อนเพียงเล็กน้อย อาจไม่มีอาการผิดปกติแสดงออกมาให้เห็นก็ได้
- ส่วนในทารกอาจเป็นโรคกรดไหลย้อนตั้งแต่แรกเกิดได้ เนื่องจากหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารยังเจริญไม่เต็มที่ ทารกจึงมักมีอาการงอแง ร้องกวน อาเจียนบ่อย ไอบ่อยตอนกลางคืน เสียงแหบ หรือหายใจมีเสียงวี้ด เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวไม่ขึ้น ทารกบางรายอาจสำลักน้ำย่อยเข้าปอดทำให้ปอดอักเสบ ซึ่งอาจกำเริบได้บ่อย แต่อาการมักจะหายไปเมื่ออายุได้ประมาณ 6-12 เดือน แต่บางรายก็อาจรอจนถึงเข้าสู่วัยรุ่นอาการจึงจะดีขึ้น ส่วนในเด็กโตมักจะมีอาการคล้ายกับผู้ใหญ่
ภาวะแทรกซ้อนของโรคกรดไหลย้อน
แม้ว่าโรคกรดไหลย้อนจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็จัดเป็นโรคเรื้อรังที่น่ารำคาญและสร้างความทุกข์ทรมานเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป เนื่องจากผู้ป่วยที่รู้จักปฏิบัติตัวและคอยใช้ยาควบคุมอาการอยู่เสมอ มักจะไม่ทำให้มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง แต่ถ้าปล่อยปละละเลยก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น
- หากปล่อยไว้ให้เป็นเรื้อรังนาน ๆ ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ที่พบบ่อยก็คือ หลอดอาหารอักเสบ (Esophagitis) ซึ่งจะทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกในขณะกลืนอาหาร
- หากไม่ได้รับการรักษา ต่อมาอาจกลายเป็นแผลหลอดอาหาร (Esophageal ulcer) ได้ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการเลือดออก เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ เป็นต้น และในที่สุดอาจเกิดภาวะหลอดอาหารตีบ (Esophageal stricture) ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการกลืนอาหารลำบาก อาเจียนบ่อย จำเป็นต้องรักษาด้วยการใช้เครื่องมือถ่างหลอดอาหารเป็นครั้งคราว และถ้าเป็นมากอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
- ผู้ป่วยบางรายอาจมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหารจนกลายเป็นหลอดอาหารบาร์เรตต์ (Barrett’s esophagus) ซึ่งสามารถวินิจฉัยได้ด้วยการส่องกล้องลงไปที่หลอดอาหารและนำชิ้นเนื้อไปพิสูจน์ ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้จะมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ประมาณ 2-5% ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการกลืนอาหารลำบาก เจ็บเวลากลืนอาหาร อาเจียนบ่อย น้ำหนักตัวลดลง
- ในรายที่มีกรดไหลย้อนถึงคอหอยและหลอดลม น้ำย่อยไหลจะเข้าไประคายเคืองต่อหลอดลม อาจทำให้กลายเป็นคออักเสบ หลอดลมอักเสบ (เจ็บคอไอเรื้อรัง) กล่องเสียงอักเสบ (เสียงแหบ ตรวจพบสายเสียงบวมแดง) โรคหืดกำเริบ
- อาจทำให้โรคทางปอดแย่ลง เช่น ไอเรื้อรัง ปอดอักเสบ โรคหอบหืดเป็นมากขึ้น
- ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ได้แก่ ปอดอักเสบจากการสำลักน้ำย่อยเข้าไปในปอด (Aspiration pneumonia) ซึ่งพบได้บ่อยในทารกอายุ 1-4 เดือน
- นอกจากนี้โรคกรดไหลย้อนยังเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง มะเร็งกล่องเสียง และผิวฟันผุกร่อนจากการกัดของน้ำย่อยเป็นเวลานาน
วิธีรักษาโรคกรดไหลย้อน
1.โรคนี้มักจะมีอาการกำเริบได้เป็นครั้งคราว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ายังมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้โรคกำเริบ ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ (แต่ถ้ายังมีอาการกำเริบขึ้นมาอีก ให้รับประทานยาเป็นครั้งคราวไปเรื่อย ๆ)
- โรคนี้มักมีอาการแบบเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ควรใช้ยาช่วยควบคุมอาการเป็นระยะ ๆ และควรรับประทานทันทีที่อาการเริ่มกำเริบ
- หมั่นสังเกตตนเองว่าเมื่อบริโภคอาหารชนิดใดและปริมาณเท่าใดแล้วทำให้อาการกำเริบหรือก่อให้เกิดอาการมากขึ้น (เป็นเพราะแต่ละคนจะไวต่ออาหารได้แตกต่างกันไป) แล้วพยายามหลีกเลี่ยงหรือจำกัดการบริโภคสิ่งนั้น โดยเฉพาะกับอาหารมัน อาหารรสเผ็ดจัดหรือเปรี้ยวจัด แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ช็อกโกแลต น้ำอัดลม เป็นต้น
- กรดไหลย้อนห้ามกินอะไร ? หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมัน อาหารเผ็ด แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีน ชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้เปรี้ยว ผลไม้เปรี้ยว ซอสมะเขือเทศ ช็อกโกแลต กระเทียม หัวหอม สะระแหน่ การสูบบุหรี่ และการรับประทานยาบางชนิด (เช่น ยาขยายหลอดลม ยาทางจิตประสาท ยาแอนติโคลิเนอร์จิก ยาต้านแคลเซียม)
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารในปริมาณครั้งละมาก ๆ และดื่มน้ำมาก ๆ ในระหว่างรับประทานอาหาร แต่ควรเปลี่ยนมารับประทานอาหารในปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้งแทน รับประทานอาหารให้ช้าและเคี้ยวให้ละเอียด ส่วนอาหารมื้อเย็นควรรับประทานในปริมาณน้อย ๆ หลีกเลี่ยงอาหารเสี่ยง และทิ้งช่วงห่างจากเวลาเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
- หลังรับประทานอาหารเสร็จ ไม่ควรนอนราบ นั่งงอตัว โค้งตัวลงต่ำ หรือก้มหยิบของ (ให้นั่งตัวตรงหรือยืนแทน) ควรนอนในท่าเอนตัวเสมอ ปลดเข็มขัดและตะขอกางเกงให้หลวม และไม่ควรยกของหนักและออกกำลังกาย แต่ต้องรอให้อาหารย่อยผ่านกระเพาะอาหารไปก่อนประมาณ 2-3 ชั่วโมงหลังการรับประทานอาหาร
- เคี้ยวหมากฝรั่งหลังอาหาร เพราะการเคี้ยวหมากฝรั่งจะทำให้มีน้ำลายมากซึ่งจะไปช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารและหลอดอาหารได้ (ควรหลีกเลี่ยงหมากฝรั่งรสเปปเปอร์มินต์)
- สวมใส่เสื้อผ้าหลวมสบายตัว ไม่ใส่เสื้อผ้ารัดรูปหรือรัดเข็มขัดจนแน่นเกินไป เพื่อไม่ให้เป็นการเพิ่มความดันต่อกระเพาะอาหาร
- ในรายที่อ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเกิน ควรหาทางลดความอ้วนและควบคุมน้ำหนักอย่างเหมาะสม
- ถ้ามีอาการกำเริบตอนเข้านอน ควรหนุนศีรษะให้สูง 6-10 นิ้ว โดยการหนุนขาเตียงด้านศีรษะให้สูงหรือใช้อุปกรณ์พิเศษสอดใต้ที่นอนให้เอียงลาดจากศีรษะลงมาถึงระดับเอว หรือใช้เตียงนอนที่มีกลไกปรับหัวเตียงให้สูงได้ ส่วนวิธีการหนุนหมอนให้สูงนั้นไม่แนะนำให้ทำ เพราะอาจจะทำให้ท้องโค้งงอ ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้นได้
- หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอและผ่อนคลายความเครียด เพราะความเครียดมีส่วนทำให้หลั่งกรดมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้อาการกำเริบขึ้นมาได้
- รักษาและควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน เช่น โรคเบาหวาน โรคถุงลมโป่งพอง โรคอ้วน โรคของกะบังลม โรคกล้ามเนื้อหรือของเนื้อเยื่อต่าง ๆ แผลเพ็ปติก โรคหืด
- ไปพบแพทย์ตามนัดเสมอ และรีบไปพบแพทย์ก่อนนัดเมื่ออาการต่าง ๆ เลวร้ายลงหรือผิดไปจากเดิม
- รีบไปพบแพทย์ฉุกเฉินเมื่ออาเจียนเป็นเลือดหรือไอเป็นเลือด, ไอมากหรือสำลักบ่อย, เจ็บคอมาก, เจ็บเวลากลืนหรือกลืนแล้วติด, เจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง, อาเจียนหรือขย้อนอาหารบ่อยมาก, ปวดท้องอย่างรุนแรง, อุจจาระดำ (ลักษณะเหมือนยางมะตอย เพราะเป็นอาการมีเลือดออกในหลอดอาหารและ/หรือในกระเพาะอาหาร), อ่อนเพลีย ซีด และน้ำหนักตัวลดอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีสาเหตุ
2.ในรายที่รักษาด้วยยามาเป็นเวลานานแล้วและยังไม่สามารถควบคุมอาการหรือหยุดการใช้ยาได้ หรือเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานยาได้เป็นเวลานานและมีผลข้างเคียงจากยา หรือผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วย เช่น หลอดอาหารตีบ หลอดอาหารอักเสบรุนแรง กล่องเสียงอักเสบเรื้อรัง โรคหืดกำเริบบ่อย หรือมีไส้เลื่อนกะบังลมขนาดใหญ่ อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดซ่อมแซม (ผูก) หูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารด้วยวิธีส่องกล้องเข้าไปในช่องท้อง (Laparoscopic fundoplication) แต่บางรายแพทย์ก็อาจให้การรักษาด้วยวิธีการใช้ความร้อนจากคลื่นวิทยุ (Radiofrequency therapy) เข้าไปทำลายเนื้อเยื่อตรงส่วนปลายของหลอดอาหาร ทำให้เกิดแผลเป็นดึงรั้งให้หูรูดหดแน่น ซึ่งจะช่วยให้อาการทุเลาลงได้
สมุนไพรรักษาโรคกรดไหลย้อน มีหลายชนิด เช่น
- กะเพรา (Ocimum tenuiflorum L.) ให้ใช้กะเพรา 1 กำ (ทั้งต้นและใบ ถ้าเป็นกะเพราแดงจะได้ผลดีกว่า) หรือประมาณ 1 ขีด นำมาล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นให้ใส่น้ำ 2-3 ลิตรลงในหม้อต้มแล้วนำกะเพราใส่ลงไปทั้งหมด ปิดฝาหม้อ ใช้ไฟปานกลางค่อนข้างอ่อน ต้มนานประมาณ 20 นาที (ควรกะปริมาณไฟที่ต้มให้น้ำเดือดภายใน 15-20 นาที) พอน้ำเดือดให้ปิดแก๊ส ใช้น้ำที่ได้มาดื่มหลังอาหารครั้งละ 1 แก้ว (250 มิลลิลิตร) ส่วนที่เหลือไม่ต้องอุ่นหรือต้มซ้ำ แต่ให้ใช้วิธีแช่เย็นไว้ดื่มแทน (รอให้หายเย็นแล้วจึงค่อยดื่ม) ถ้าอาการหนักให้ดื่มประมาณ 6-8 แก้ว และหลังจากวันแรกที่ดื่ม ถ้าอาการทุเลาให้ลดปริมาณน้ำกะเพราลง ดื่มเฉพาะหลังอาหารมื้อละ 1-2 แก้ว แต่ไม่ควรเกิน 4 แก้วต่อวัน
- กระเจี๊ยบเขียว (Abelmoschus esculentus (L.) Moench) ใช้ฝักกระเจี๊ยบมาต้มในน้ำเกลือแล้วใช้รับประทานแก้อาการ
- ขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาอาการท้องอืดและช่วยขับน้ำดีเพื่อย่อยไขมัน จึงทำให้อาหารไม่ตกค้างในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กนานเกินไป อีกทั้งยังช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย โดยให้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชาสำหรับแบบผง หรือครั้งละ 3 แคปซูล (แคปซูลละ 500 มิลลิกรัม) ก่อนอาหารประมาณ 30 นาที-1 ชั่วโมง วันละ 4 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน
- ขึ้นฉ่าย (Apium graveolens L.) ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหารในร่างกายและช่วยลดอาการของโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ซึ่งรวมถึงโรคกรดไหลย้อน
- โทะ (Rhodomyrtus tomentosa (Aiton) Hassk.) ในประเทศมาเลเซียจะใช้รากและใบโทะ ต้มเป็นยารักษาอาการแสบยอดอกจากกรดไหลย้อน
- ลูกยอ (Morinda citrifolia L.) นำมาทำเป็นเครื่องดื่ม ใช้คู่กับหัวหญ้าแห้วหมู อย่างแรกให้เลือกลูกยอห่าม นำมาหั่นเป็นแว่น ๆ ไม่บางหรือหนาจนเกินไป แล้วนำไปย่างไฟอ่อน ๆ (ปกติลูกยอจะมีกลิ่นเหม็น) โดยย่างให้เหลืองกรอบและย่างจนหมดกลิ่นเหม็นจริง ๆ จึงจะได้ตัวยาที่หอมน่ารับประทาน (การย่างนอกจากจะช่วยดับกลิ่นแล้วยังช่วยเพิ่มความเป็นด่างให้กับตัวยาด้วย จึงช่วยซับกรดและลดกรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ) สำหรับหญ้าแห้วหมูให้เอาส่วนหัวใต้ดินที่เราเรียกว่าหัวแห้วหมู นำไปคั่วให้เหลืองและมีกลิ่นหอม เมื่อเสร็จแล้วให้ตั้งไฟต้มน้ำจนเดือดแล้วเอาตัวยาทั้งสองชนิดลงไปต้มพร้อมกัน ใส่น้ำตาลกรวดพอหวาน ทิ้งไว้สักพักแล้วยกลงจากเตา ตัวยาที่ได้นี้จะมีกลิ่นหอม รอจนอุ่นแล้วนำมารับประทาน ส่วนที่เหลือให้กรองเอาแต่น้ำแช่ไว้ในตู้เย็นแล้วค่อยอุ่นรับประทาน ให้ดื่มติดต่อกัน 1 สัปดาห์แล้วสังเกตอาการ (งานวิจัยระบุว่า สมุนไพรชนิดนี้มีสารสโคโปเลติน (Scopoletin) เป็นส่วนประกอบ สารชนิดนี้สามารถช่วยลดการอักเสบของหลอดอาหารจากการไหลย้อนของกรดได้ผลดีพอ ๆ กับยามาตรฐาน คือ รานิทิดีน (Ranitidine) และยาแลนโซพราโซล (Lansoprazole) เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านการหลั่งของกรด ต้านการเกิดแผล และทำให้การบีบตัวของระบบทางเดินอาหารดีขึ้น โดยมีผลต่อระบบประสาทที่เกี่ยวข้องโดยตรง อีกทั้งยังสามารถเพิ่มการดูดซึมของยารานิทิดีนได้ด้วย ลูกยอจึงเหมาะแก่การนำมาใช้เป็นสมุนไพรสำหรับรักษาอาการกรดไหลย้อนเป็นอย่างยิ่ง)
- หญ้าลิ้นงู (Oldenlandia corymbosa L.) ชาวอินเดียจะใช้หญ้าลิ้นงูทั้งต้นนำมาต้มในนมกับน้ำตาลเพื่อใช้เป็นยาบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนที่หน้าอกอันเนื่องมาจากกรดไหลย้อน
- ว่านกาบหอย (Tradescantia spathacea Sw.) ให้ใช้ใบว่านกาบหอยแครงและใบเตยสด อย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำจนเดือด ใช้ดื่มต่างน้ำทั้งวัน วันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละครึ่งแก้ว โดยให้ผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา น้ำมะนาว 1 ช้อนชา และเกลือป่นอีกเล็กน้อย แล้วอาการของกรดไหลย้อนจะค่อย ๆ ดีขึ้น
- ย่านาง (Limacia triandra Miers) น้ำใบย่านางคั้นสดมีสรรพคุณหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือรักษาอาการกรดไหลย้อน
ผลิตภัณฑ์สมุนไพรตราบ้านหมอละออง
สำหรับดูแลผู้เป็นโรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะ แสบแน่นกลางอก ผลิตภัณฑ์ที่ปรุงขึ้นจากสูตรสมุนไพรเฉพาะของบ้านหมอละออง มีสมุนไพรใช้สำหรับรับประทาน อุดมไปด้วยสรรพคุณจากสมุนไพร อาทิ ลูกจันทร์, ดอกจันทน์, ลูกกระวาน, กานพลู เทียนทั้ง 5, โกฐทั้ง 5, บอระเพ็ด, หัศคุณเทศ, ขมิ้นอ้อย, ขมิ้นชัน, ดอกดีปลี, ใบกระเพราแดง และสมุนไพรอื่นๆ เพื่อดูแลบำบัดอาการของคุณ ที่มีปัญหา ใช้ต่อเนื่องได้อย่างปลอดภัย เพราะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณ
สรรพคุณ: สมุนไพรแก้โรคกระเพาะ กรดไหลย้อน แสบร้อนในทรวงอก แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ แก้แผลในกระเพาะอาหาร
วิธีใช้: ครั้งละ 3 แคปซูล 3 เวลา หลังอาหารเช้า – กลางวัน – เย็น
สมุนไพร: ลูกจันทร์, ดอกจันทน์, ลูกกระวาน, กานพลู เทียนทั้ง 5, โกฐทั้ง 5, บอระเพ็ด, หัศคุณเทศ, ขมิ้นอ้อย, ขมิ้นชัน, ดอกดีปลี, ใบกระเพราแดง และสมุนไพรอื่นๆ
ขนาด: 2 กระปุก, กระปุกละ 100 แคปซูล
เลขทะเบียนยาที่ G389/49
เชื่อมั่นสมุนไพรไทย ไว้ใจบ้านหมอละออง
ตำรับยาสมุนไพรไทยที่ผ่านการคิดค้นและรักษาดูแลผู้ป่วยหายแล้วมากกว่า 50,000 ราย
ผ่านการรับรองจาก อย.ไทย ตรวจสอบได้
ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โดยผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่นๆ
ของแท้ ออร์แกนิค ต้นตำรับ
ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยบริสุทธิ์จากธรรมชาติ ควบคู่กับนโยบายในการดำเนินงานที่ว่า “อยู่เย็นเป็นสุขด้วยธรรมชาติบำบัด”
ปลอดภัย ไร้สารสเตียรอยด์
ปลอดภัย ไม่มีสเตียรอยด์ ดูแลควบคุมการผลิตโดยเภสัชกรแพทย์แผนไทย ที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์จากกระทรวงสาธารณสุข
มาตรฐานการผลิต ควบคุณภาพทุกขั้นตอน
มาตรฐานการผลิตมีคุณภาพ โรงงานผลิตยาแผนโบราณที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
ทำไมควรรักษาด้วยแพทย์ทางเลือก-ธรรมชาติบำบัด? เพราะว่า การใช้สมุนไพรบำบัดทั้งเป็นยากิน และยาทาภายนอกนั้น เป็นวิถีทางที่ปลอดภัยต่อร่างกายมากกว่าการใช้ยาเคมี เป็นการรักษาที่ส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายน้อยมาก ไม่มีอันตรายสะสม และสามารถใช้ต่อเนื่องได้ในกรณีที่โรคยังไม่สงบ ดังนั้นปัจจุบัน การรักษาด้วยศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทย จากสมุนไพรไทยนับว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีมาก นับว่าเป็นอีกหนึ่งทางออกสำหรับผู้ป่วยที่กำลังอยู่ในภาวะความเครียดเพราะไม่มีหนทางมากนักในการรักษา
ตำรับยาสมุนไพรบ้านหมอละออง ได้ผ่านการคิดค้นตำรับยามามากกว่า 30 ปี และรักษาผู้ป่วยมาจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่นๆ ทุกชนิด ผ่านการรับรองจาก อย. ให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่าปลอดภัย และมีโรงงานผลิตยาแผนโบราณที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่เวปไซต์ กรมการแพทย์แผนไทยและกรมการแพทย์ทางเลือก เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการรักษา รายละเอียดและสรรพคุณ จัดเรียงข้อมูลไว้ให้ สะดวกและง่ายต่อการค้นหาข้อมูลค่ะ
รีวิว
เสียงจากผู้ใช้ เปิดใจจากผู้ใช้จริง
“เชื่อมั่นในสมุนไพรไทย เชื่อใจหมอละออง”
รวมรีวิวจากลูกค้าผู้ใช้สมุนไพรไทยหมอละออง ที่เป็นกรดไหลย้อน โรคกระเพาะ ด้วยเสียงตอบรับและภาพรีวิวมากมาย ทำให้ลูกค้ามั่นใจในคุณภาพและบริการ
สินค้าแนะนำ
ส่งฟรี
จัดส่งฟรี ส่งด่วนไม่มีขั้นต่ำ
สินค้าชำรุด เสียหาย
สามารถเปลี่ยนสินค้าได้ ภายใน 7 วัน
จัดส่งเร็ว
จัดส่งทันที หลังจากแจ้งชำระเงินแล้ว