สีปัสสาวะ สัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ เช่น ปริมาณน้ำที่ดื่ม สารละลายที่อยู่ในน้ำปัสสาวะ หรือยาที่รับประทาน ดังนั้นเราจะมาทำความเข้าใจถึง สีปัสสาวะ ให้เข้าใจถึงความถูกต้องและไม่วิตกเมื่อ สีปัสาวะ เปลี่ยนไป
ปัสสาวะใส จำเป็นต่อสุขภาพไหม
แล้วคำถามที่ว่าทำให้น้ำปัสสาวะใสๆจำเป็นต่อสุขภาพไหม คำตอบที่อ้างอิงข้อมูลทางการแพทย์คือ เราไม่จำเป็นต้องจริงจังทำให้สีปัสสาวะใส
ปัสสาวะที่มีความใสเมื่อถ่ายเสร็จใหม่ ๆ (Clear) คือ ปัสสาวะที่ปกติ แต่ปัสสาวะที่ปกตินี้อาจจะมีความขุ่นได้บ้างเล็กน้อยในกรณีที่มีการปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศ เศษเซลล์เยื่อบุ ผลึกที่พบได้ทั่วไปในปัสสาวะ ไปจนถึงสิ่งปนเปื้อน เช่น โลชั่นทาผิว และแป้ง นอกจากนี้ ปัสสาวะที่ตั้งทิ้งไว้ก็อาจขุ่นเองได้เช่นกัน
เพราะปัสสาวะเป็นอาหารที่ดีสำหรับแบคทีเรีย แบคทีเรียจึงเจริญเติบโตขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้ปัสสาวะขุ่นได้ และสาเหตุความขุ่นอีกอย่างหนึ่งก็คือ แบคทีเรียจะเปลี่ยนยูเรียในปัสสาวะให้เป็นแอมโมเนีย แอมโมเนียจะทำให้ปัสสาวะมีฤทธิ์เป็นด่าง และด่างจะช่วยตกตะกอนของสารบางอย่าง เช่น ฟอสเฟต ยูเรต และทำให้ปัสสาวะขุ่นได้เช่นเดียวกัน
บางครั้งความขุ่นของปัสสาวะก็ยังเกิดจากการรับประทานอาหารและการใช้ยาได้ด้วย เช่น ยาซัลฟาที่กินแล้วไม่ได้ดื่มน้ำมาก ๆ ก็อาจจะตกตะกอนเป็นผงหรือผลึก ทำให้ปัสสาวะขุ่น
ค่าปัสสาวะ
เนื่องจากค่าปัสสาวะของคนสุขภาพปกติและดื่มน้ำเพียงพอสีปัสสาวะจะมีสีเหลือง (คือมีความเข้มข้นสารละลายโดยเฉลี่ย 500-800 มิลลิออสโมล : น้ำ 1 กิโลกรัม
ฉะนั้นคนสุขภาพปกติไม่จำเป็นต้องทำให้ปัสสาวะใสหรือมีสีเหลืองจาง
12 สีปัสสาวะบอกอะไรคุณได้บ้าง
-
ใส ไม่มีสี
แสดงว่าคุณดื่มน้ำปริมาณมากกว่าปริมาณที่แนะนำให้ดื่มในแต่ละวัน ทำให้ระดับเกลือแร่ในร่างกายต่ำเกินไป ในบางกรณีระดับเกลือแร่ที่ต่ำมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ หากปัสสาวะของคุณใสเป็นบางครั้งบางคราวถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่หากปัสสาวะของคุณใสอยู่ตลอดเวลา คุณควรลดปริมาณการดื่มน้ำ นอกจากนี้ปัสสาวะใสยังบอกถึงโรคบางอย่างได้ เช่น โรคเบาหวาน การกินยาขับปัสสาวะ โรคไต เป็นต้น
-
สีขาวขุ่น
พบได้ในคนที่ดื่มนมปริมาณมากจนทำให้เกิดผลึกของฟอสเฟตหรือเกิดจากโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เช่น โรคกรวยอักเสบ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ รวมถึงอาจเกิดจากการมีน้ำเหลืองปนอยู่ในปัสสาวะหรือมีโปรตีนมากเกินไปร่างกาย
-
สีเหลืองอ่อนไปจนถึงสีเหลืองทอง
หมายถึงระดับน้ำในร่างกายของคุณอยู่ในระดับปกติ คุณควรสังเกตว่าปัสสาวะสีที่ปกติของคุณเป็นอย่างไรเพื่อให้คุณบอกได้ว่าเมื่อใดที่สีปัสสาวะของคุณผิดปกติไป
-
สีเหลืองเข้ม
เป็นสีปัสสาวะที่ปกติ แต่คุณควรดื่มน้ำให้มากขึ้น
-
สีเหลืองสด
ปัสสาวะเป็นสีเหลืองสดหรือสีนีออนเกิดจากการกินวิตามินและอาหารเสริม ซึ่งไม่เป็นอันตรายใด ๆ แค่เป็นอาการที่บอกว่าคุณกินวิตามินมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ดังนั้นคุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเริ่มกินวิตามินหรืออาหารเสริมใด ๆ
-
สีส้ม
ปัสสาวะสีส้มอาจหมายถึง ร่างกายขาดน้ำและอาจหมายถึงมีปัญหาเกี่ยวกับถุงน้ำดีหรือตับ รวมถึงอาจเกิดจากการกินแครอท การกินวิตามินบี 2 ในปริมาณมาก ยาบางชนิดที่ทำให้ปัสสาวะเป็นสีส้ม เช่น ยาซัลฟาซาลาซีน ยาฟีนาโซไพริดีน ยาไอโซไนอาซิด ยาระบายบางชนิด เป็นต้น
-
สีส้มเข้มหรือสีน้ำตาล
สาเหตุเกิดขึ้นได้จากการขาดน้ำอย่างรุนแรง เป็นดีซ่าน มีภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (rhabdomyolysis) นอกจากนี้ยาบางชนิดยังทำให้ปัสสาวะมีสีน้ำตาลได้ เช่น ยาเมโทรนิดาโซลที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียหรือยาควีนินซึ่งใช้ป้องกันโรคมาลาเรีย
-
สีน้ำตาลเข้มหรือดำ
อาจเกิดจากการกินถั่วบางชนิดในปริมาณมาก ผักรูบาร์บ ว่านหางจระเข้ หรือแสดงถึงโรคบางชนิด เช่น โรคตับ โรคมะเร็งผิวหนัง นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากผลข้างเคียงของยา เช่น ยาควีนินซึ่งใช้ป้องกันโรคมาลาเรีย ยาปฏิชีวนะเมโทรนิดาโซล
-
สีชมพูและสีแดง
ปัสสาวะสีชมพูไปจนถึงสีแดงอาจหมายถึงการมีเลือดเจือปนอยู่ในปัสสาวะหรือเป็นสัญญาณของโรคไต โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วในไต เนื้องอกหรือมะเร็งที่ไต กระเพาะปัสสาวะหรือต่อมลูกหมาก รวมถึงการกินอาหารบางชนิด เช่น บลูเบอร์รี่ รูบาร์บ บีทรูท หรือหลังการออกกำลังกายอย่างหนักทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ซึ่งไม่เป็นอันตรายใด ๆ
-
สีเขียว
ผักแอสพารากัสอาจทำให้ปัสสาวะมีสีเขียวและมีกลิ่น ยาบางชนิดและสีผสมอาหารสีเขียวอาจทำให้ปัสสาวะเป็นสีเขียวได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะได้
-
สีฟ้า
อาจเกิดจากโรคทางพันธุกรรมเมตาบอลิกที่หายากซึ่งทำให้เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูงผิดปกติ (familial hypercalcemia หรือ blue diaper syndrome) หรือเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ส่วนใหญ่แล้ว เกิดจากยาหรือสีผสมอาหารสีน้ำเงิน เช่น ยาแก้ปวดอินโดเมทาซิน ยารักษาอาการซึมเศร้าอะมิทริปไทลีนและยายับยั้งการหลั่งกรดไซเมทิดีนและยาระงับความรู้สึกโปรโพฟอล เป็นต้น
-
สีม่วง
ปัสสาวะสีม่วงมีชื่อเรียกเฉพาะว่า อาการปัสสาวะในถุงเป็นสีม่วง (purple urine bag syndrome) ซึ่งพบได้ไม่บ่อยในผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะที่มีอาการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะทำให้ปัสสาวะเป็นสีม่วง
ปัสสาวะแบบไหนอาจผิดปกติ ควรไปปรึกษาแพทย์
โดยส่วนใหญ่แล้ว ปัสสาวะที่มีสีเปลี่ยนไปไม่ได้เป็นเรื่องร้ายแรงต่อสุขภาพจนต้องรู้สึกวิตกกังวล แต่คุณควรรีบไปพบแพทย์หากพบว่าปัสสาวะของคุณมีความผิดปกติดังนี้
- เมื่อปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะมีสีแดงหรือสีชมพู
- เมื่อสีปัสสาวะเปลี่ยนไปจากสีเหลืองโดยไม่ทราบสาเหตุ
- เมื่อปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะมากกว่า 3 ลิตรต่อวัน
- ปัสสาวะมีสีน้ำตาลเข้มหรือสีส้ม ผิวหนังและดวงตาเป็นสีเหลือง อุจจาระมีสีซีด อาจเกิดจากตับทำงานบกพร่อง
- ปัสสาวะมีสีที่แปลกไปอย่างไม่มีสาเหตุติดต่อกันนานหลายวัน
สมุนไพรบ้านหมอละออง ขับปัสสาวะ ปัสสาวะขัด ฉี่ไม่สุด ฉี่เป็นฟอง ฉี่เป็นเลือด ฟื้นฟูไตกระตุ้นเตือนไต ให้เป็นปกติ
ตำรับยาสมุนไพรสูตรบ้านหมอละออง ประกอบด้วย พลูคาว รากถั่วแระผี หน่ออ้อ หญ้าดอกขาว เหง้าสับปะรด หญ้างวงช้าง หญ้าหนวดแมว หญ้าใต้ใบ รากไทรย้อย และตัวยาอื่นๆ
-
หญ้าดอกขาว
สรรพคุณ ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด แก้พิษ บำรุงธาตุ
-
รากถั่วแระผี
สรรพคุณ ละลายนิ่วในไต แก้ปัสสาวะพิการแดงขุ่น เหลืองมาก
-
พลูคาว
สรรพคุณ แก้โรคไต รักษาอาการไตผิดปกติ แก้ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
-
หน่ออ้อ
สรรพคุณ แก้อักเสบ แก้ปัสสาวะ ปวดแสบปวดร้อน
-
เหง้าสับปะรด
สรรพคุณ ช่วยโรคไตอักเสบ
วิธีการรับประทาน
ทานครั้งละ 2-3 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง ประมาณ 15-30 นาที ก่อนอาหาร เช้าเย็น หากมีอาการมากให้เพิ่มเป็นครั้งละ 3 แคปซูล
ขนาด: 100 แคปซูล
เลขทะเบียนยาที่ G 434/49
[หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่เวปไซต์ กรมการแพทย์แผนไทยและกรมการแพทย์ทางเลือก เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการรักษา รายละเอียดและสรรพคุณ จัดเรียงข้อมูลไว้ให้ สะดวกและง่ายต่อการค้นหาข้อมูลค่ะ]สรุป
สีปัสสาวะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง จึงไม่ควรวิตกหรือมีความกังวลมากจนเกินไป โดยปกติสีปัสสาวะจะมีสีเหลือง หากมีสีที่ข้นมากขึ้นหรือมีกลิ่นฉุนมากเกินไปกว่าปกติ ก็ควรไปปรึกษาแพทย์ ที่สำคัญคือการดูแลร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานน้ำให้เพียงพอ เพียงเท่านี้ก็ไม่ต้องวิกตกกับสีปัสสาวะอีกต่อไป