8 วิธี หลีกหนี โรคไต

8 วิธี หลีกหนี โรคไต ข้อปฏบัติแบบง่ายทำได้ทันที เพื่อสุขภาพที่ยืนยาว ลดภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคอื่นๆแทรกซ้อน เรามาทำความรู้จักกับ 8 วิธี หลีกหนี โรคไต ดังนี้

  1. ลดอาหารรสหวานให้เหมือนลดอาหารเค็ม>>
  2. ไม่ควรทานอาหารซ้ำๆจากแหล่งเดียว>>
  3. ดื่มน้ำเปล่า 1.5 ลิตรต่อวัน>>
  4. ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์>>
  5. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์>>
  6. หลีกเลี่ยงอาหารเสริม>>
  7. พักผ่อนให้เพียงพอ>>
  8. ตรวจสุขภาพประจำปี>>

โดยบุคคลที่เสี่ยงเป็นโรคไตมากกว่าคนทั่วไป มีดังนี้

  • มีนิสัยชอบกินอาหารรสจัดเป็นประจำ หวานจัด เค็มจัด มันจัด
  • กินแต่อาหารที่เต็มไปด้วยคาร์โบไฮเดรต และไขมัน
  • กินบะหมี่สำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบ ฯลฯ ซึ่งมีปริมาณโซเดียมสูง
  • คนที่ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย เครียด
  • มีโรคความดันเลือดสูง เป็นจุดตั้งต้นของโรคไต
  • มีน้ำหนักตัวเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
  • เป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไต จากพันธุกรรม
  • ผู้ที่สูบบุหรี่
  • ผู้ที่กินยาต้ม ยาหม้อ ยาลูกกลอน ยาสมุนไพร ยาจีน ยาชุด ยาแก้ปวด และอาหาเสริม เนื่องจากในยาเหล่านี้ มีสารบางชนิดที่ทำให้ไตวายได้
  • ผู้ป่วยที่ต้องกินยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) เพราะ ยากลุ่มนี้ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตลดลง และส่งผลให้ไตทำงานได้แย่ลงด้วย

ลดอาหารรสหวานให้เหมือนลดอาหารเค็ม

ปกติแล้วไตจะทำหน้าที่กรองของเสียรวมถึงโซเดียมออกทางปัสสาวะ การกินเค็มมมากจะทำให้ไตทำงานหนัก เพราะต้องขับส่วนที่โซเดียมเกินออก เมื่อไตทำงานหนัก จึงกำจัดของเสียออกทางปัสสาวะได้น้อยลง จนทำให้มีอาการตัวบวม จนกลายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เป็นโรคไต

ของหวาน ขนมหวานจำพวกใส่กะทิ เบเกอรี่ เค้ก คุกกี้ ขนมปัง มัฟฟิน เบเกอรี่ต่างๆเพราะการทำเบเกอรี่จำเป็นต้องใช้ผงฟู และในผงฟูนั้นมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ

อย่างที่รู้ๆกันว่าอาหารผู้ป่วยโรคไต ห้ามกินอาหารที่มีรสเค็ม หรือมีโซเดียมที่มากเกินไป เพราะไตไม่สามารถกำจัดของเสียและน้ำส่วนที่เกินของในร่างกายได้ทัน จนเกิดการคั่งในอวัยวะต่างๆ เช่น แขนขาบวม เหนื่อย หอบง่าย เพราะฉะนั้นเมนูอาหารผู้ป่วยโรคไตแต่มื้อที่ผู้ป่วยทาน ต้องใส่ใจและควบคุมอาหารผู้ป่วยโรคไตเป็นพิเศษ

ไม่ควรทานอาหารซ้ำๆจากแหล่งเดียว

ไม่ควรทานอาหารที่จำเจซ้ำๆอย่างเดิม ควรทานอาหารที่หลากหลายสลับกัน ที่สำคัญคือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียม และอาหารที่มีโพแตสเซียมสูง อย่างแรกคือต้องจำกัดโซเดียม เช่น เกลือ ซอสปรุงรส ในอาหาร และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง เช่น อาหารสำเร็จรูป อาหารหมักดอง ไข่เค็ม ปลาเค็ม กุนเชียง เป็นต้น ส่วนโพแตสเซียมถูกขับออกทางไต ถ้าร่างกายมีโปแตสเซียมคั่งในเลือดมาก อาจเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง และมีผลทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ และหัวใจหยุดเต้นได้

ดื่มน้ำเปล่า 1.5 ลิตรต่อวัน

การดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ ช่วยลดความเสี่ยง ที่แร่ธาตุจะตกตะกอนเป็นนิ่วในไต โดยทั่วไปเราสามารถกะปริมาณน้ำดื่มคร่าว ๆ ได้ว่าควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วหรือ 1.5 ลิตรต่อวัน อย่างไรก็ตามจากอายุ และวิถีชีวิตของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน เช่น คนที่ออกกำลังกาย สูญเสียเหงื่อ อาจต้องการดื่มน้ำมากกว่าคนทั่วไป ดังนั้นการจะดูว่าเราดื่มน้ำเพียงพอแล้วหรือยัง สามารถสังเกตจากสีของปัสสาวะได้ว่ามีสีออกไปทางเหลืองเข้มหรือไม่ มีกลิ่นฉุนมากเกินไปหรือเปล่า ถ้าใช่ ควรดื่มน้ำให้มากขึ้นจนกว่าจะพบว่าสีของปัสสาวะใสขึ้น กลิ่นฉุนน้อยลง

ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์

โรคไตนั้นมีหลายโรคเลยทีเดียว เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคเนื้อเยื่อไตอักเสบ โรคติดเชื้อของไต โรคไตวายเฉียบพลัน ฉะนั้นการเลือกกินอาหารหรือการใช้ยาจึงต้องระวังเป็นพิเศษ วิธีที่ดีที่สุดคือ ควรสอบถามแพทย์เรื่องอาหารการกินและการทานยาให้เหมาะสมกับร่างกายเรานั่นเอง

เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไตมีสุภาพดี สามารถใช้ชีวิต และการทำงานได้ตามปกติ จึงควรรู้จักการบริโภคที่ถูกต้อง

งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การทำงานของไตในร่างกายคือการกรองสารอันตรายออกจากร่างกาย แอลกอฮอล์ถือเป็นหนึ่งในสารอันตรายเหล่านั้น แม้ว่าแอลกอฮอล์จะถูกเผาผลาญโดยตับเป็นหลัก แต่สารเหล่านี้บางชนิดก็ถูกปล่อยออกมาทางไต

ดังนั้น หากคุณดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ่อยครั้ง ไตจะต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อให้เลือดของคุณกลับสู่สภาพปกติ

สัญญาณแรกของความเสียหายของไตจากแอลกอฮอล์คืออะไร?

เมื่อเวลาผ่านไป แอลกอฮอล์สามารถทำลายไตได้ ในตอนแรกคุณอาจไม่มีอาการไตวายจากการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ เนื่องจากไตทำงานหนักเกินไปจากการบริโภคแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ไตจะกรองเลือดและรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายได้น้อยลง

เป็นผลให้คุณอาจพบอาการต่อไปนี้:

  • ความเหนื่อยล้า
  • อาการบวมที่ขา ข้อเท้า และเท้าเนื่องจากการคั่งของของเหลว
  • เบื่ออาหาร
  • ปัสสาวะเปลี่ยนแปลง
  • ปวดไต

หลีกเลี่ยงอาหารเสริม

อาหารเสริมบางอย่างมีแค่สารอาหารตัวเดียว บางอย่างมีหลายชนิดรวมๆ กัน นอกจากนี้ในผลิตภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นเม็ด เป็นแคปซูล เป็นน้ำหรือเป็นผงชง อาจมีการเติมสารปรับแต่งต่างๆ เช่น สีสังเคราะห์ กลิ่นสังเคราะห์ สารควบคุมความเป็นกรด รวมถึงสารกันบูด

ตัววิตามิน เกลือแร่ หรือสารอาหารต่างๆ รวมทั้งสารปรับแต่งต่างๆ เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ผ่านตับและกำจัดออกทางไต ดังนั้นหากทานในปริมาณมาก หรือต่อเนื่องเป็นเวลานานย่อมทำให้ตับและไตทำงานหนักได้ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงและโลหะหนักต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต หากทานผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวติดต่อกันนานๆ อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้

พักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับพักผ่อน เป็นกิจกรรมสำคัญที่ร่างกายไม่สามารถขาดได้ การนอนหลับนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นจะต้องพักผ่อนให้เพียงพอในทุกวัน เพราะเรื่องของการนอนหลับพักผ่อนนั้นมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยตรง และมีผลต่อสมาธิในการจดจ่อกับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่างๆ รวมถึงช่วยให้ร่างกายมีพลังงานเพียงพอและพร้อมต่อการทำกิจกรรมมากมายในวันถัดไป และที่สำคัญคือร่างกายจะฟื้นฟูระบบการทำงานภายในร่างกายต่างๆให้ดีขึ้นด้วย

ตรวจสุขภาพประจำปี

โดยปกติค่าไตจะมีด้วยกัน 5 ระยะ โดยวัดจากค่า GFR ดังนั้นเราควรตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อตรวจเช็ควัดค่าไตและสุขภาพโดยรวมเพื่อจะได้ดูแลร่างกายและรักษาตามขั้นตอนให้สุขภาพดี ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคแทรกซ้อนจากภาวะโรคไต

สรุป

การดูแลตัวเองออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ทานอาหารที่มีรสจัดมากเกินไป เป็นแนวทางการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคไตและเบาหวาน ที่สำคัญอย่าลืมตรวจสุขภาพประจำปีทุกครั้งเพื่อเช็คสุขภาพตัวเองให้มีชีวิตที่ยืนยาว

เลขทะเบียนยาที่ G 434/49

[หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่เวปไซต์ กรมการแพทย์แผนไทยและกรมการแพทย์ทางเลือก เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการรักษา รายละเอียดและสรรพคุณ จัดเรียงข้อมูลไว้ให้ สะดวกและง่ายต่อการค้นหาข้อมูลค่ะ]