ประโยชน์และสรรพคุณชุมเห็ดเทศ
- แก้อาการท้องผูก
- เป็นยาระบาย
- ช่วยกระตุ้นทำให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวดีขึ้น
- รักษากระเพาะอาหารอักเสบ
- แก้กระษัยเส้น
- ช่วยทำหัวใจให้ปกติ
- ช่วยขับปัสสาวะ ขับพยาธิ
- รักษาฝี และแผลพุพอง
- รักษากลาก เกลื้อน โรคผิวหนัง
- รักษาผิวหนังอักเสบเป็นผื่นคัน โรคผิวหนังอื่นๆ
- แก้ตานซาง แก้ท้องขึ้น
- แก้นอนไม่หลับ
- บำรุงหัวใจ
- มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
- ช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต
- มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด
- ต้านการก่อยับยั้งเนื้องอก
การศึกษาทางเภสัชวิทยา
ฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ สารสกัดจากใบชุมเห็ดเทศด้วยน้ำขนาดเทียบเท่าผงใบชุมเห็ดเทศแห้ง 5 กรัม/กิโลกรัม ทำให้ลำไส้เล็กส่วนปลายของหนูตะเภาหดตัวได้ร้อยละ 25 ของฤทธิ์จากฮีสตามีน 1 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สารสกัดใบชุมเห็ดเทศด้วยน้ำขนาดเทียบเท่าผงใบชุมเห็ดเทศแห้ง 10 และ 20 กรัม/กิโลกรัม มีผลเพิ่มการเคลื่อนไหวของลำไส้ของหนูเม้าส์ได้มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ สารสกัดใบชุมเห็ดเทศด้วยน้ำในขนาด 15 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ทำให้ลำไส้เล็กส่วนปลายของหนูตะเภาหดตัวได้ในหลอดทดลอง ในขณะที่สารกลัยโคไซด์จากใบชุมเห็ดเทศมีฤทธิ์กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบในลำไส้
ฤทธิ์ในการรักษาอาการท้องผูก เมื่อให้สารสกัดจากใบชุมเห็ดเทศแห้งด้วยน้ำร้อนกับหนูแรททางปากในขนาด 500 และ 800 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบว่ามีฤทธิ์ช่วยระบาย และเมื่อให้สารสกัดใบชุมเห็ดเทศด้วยน้ำกับหนูเม้าส์ทางปากในขนาดเทียบเท่าผงใบชุมเห็ดเทศแห้ง 5, 10 และ 20 กรัม/กิโลกรัม จะทำให้หนูเม้าส์ถ่ายเหลว โดยการให้ในขนาดต่ำ (5 กรัม/กิโลกรัม) จะออกฤทธิ์ช้ากว่าในขนาดสูง (10 และ 20 กรัม/กิโลกรัม) สาร anthraquinone glycoside จากใบได้แก่ isocrysophanol, physcion-l-glycoside, chrysophanol, emodine, rhein, และ aloe-emodin มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย
ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ สารสกัดใบชุมเห็ดเทศด้วยน้ำ สารสกัดด้วยเอทานอลสารสกัดด้วยเมทานอล และสาร aloe-emodin, rhein emodol, 4,5-dihydroxy-1-hydroxymethylanthrone, 4,5-dihydroxymethylanthraquinone และ chrysophanol จากใบชุมเห็ดเทศ มีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ผิวหนังได้แก่ Epidermophyton floccosum , Microsporium gypseum, Trichophyton rubrum , T. mentagrophytes และ M. canis เมื่อเทียบกับยา tolnaftate สารสกัดด้วยน้ำและเอทานอลจากเปลือกต้นชุมเห็ดเทศสามารถยับยั้งเชื้อยีสต์ Candida albicans ได้ โดยที่ความเข้มข้น 30 ไมโครกรัม/ไมโครลิตร จะให้ผลดีเมื่อเปรียบเทียบกับยา ticonazole 30 ไมโครกรัม/ไมโครลิตร แต่สารสกัดจากใบด้วยน้ำและเอทานอลไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อยีสต์ น้ำมันหอมระเหยจากใบชุมเห็ดเทศ สารสกัดจากเปลือกต้นด้วยเมทานอล มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis ในจานเพาะเชื้อได้ปานกลาง สารสกัดด้วยน้ำจากใบชุมเห็ดเทศสามารถยับยั้งเชื้อ Escherichia coli ในจานเพาะเลี้ยงเชื้อได้ที่ความเข้มข้นมากกว่า 21.8 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร
ผลการวิจัยทางคลินิก (clinical pharmacology) การศึกษาฤทธิ์ในการรักษาอาการท้องผูก การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุมระหว่างชงชาชุมเห็ดเทศ มิสท์แอลบา และยาหลอก ในโรงพยาบาลชุมชน 5 แห่ง และโรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง ผู้ป่วยที่ไม่ถ่ายอุจจาระติดต่อกันเกิน 72 ชั่วโมง จำนวน 80 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก รับยาหลอกเป็นน้ำ เติมสีคาราเมล 120 มิลลิลิตร จำนวน 28 ราย กลุ่มที่สองรับยามิสท์แอทบา 30 มิลลิลิตร น้ำ 90 มิลลิลิตร จำนวน 28 รายและกลุ่มที่สามรับน้ำละลายชุมเห็ดเทศ ได้จากการชงผงชุมเห็ดเทศปริมาณ 3-6 กรัม ในถุงกระดาษ แช่ในน้ำเดือด 120 มิลลิลิตร นาน 10 นาที จำนวน 24 ราย ผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่มมีลักษณะไม่แตกต่างกัน ได้รับยารับประทานก่อนนอนประเมินผลจากการถ่ายอุจจาระหรือไม่ถ่ายอุจจาระภายใน 24 ชั่วโมง พบว่า ได้ผลถ่ายอุจจาระภายใน 24 ชั่วโมง ร้อยละ 18,86 และ 83 ตามลำดับ ซึ่งพบว่าผลของกลุ่มชุมเห็ดเทศและมิสท์แอลบาดีกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่พบอาการท้องเสียในกลุ่มที่ได้รับมิสท์แอลบามากกว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับชุมเห็ดเทศมีความพึงพอใจมากกว่ายาหลอก สรุป ยาชงชุมเห็ดเทศมีประสิทธิภาพที่ดีในการรักษาอาการท้องผูก
ส่วนอีกการทดลองหนึ่งพบว่าเมื่อผสมผงใบชุมเห็ดเทศในอาหารในขนาดร้อยละ 2 และ 10 ของอาหาร แล้วให้หนูแรทกินนาน 4 สัปดาห์ จะพบแผลในลำไส้ ตับ และไต และมีระดับฮีโมโกลบิน และ packed cell volume (PCV) สูงขึ้น แต่จำนวนเม็ดเลือดแดงลดลงใน 2 สัปดาห์แรก เมื่อใส่สารสกัดใบชุมเห็ดเทศด้วยเอทานอลขนาด 100 มิลลิกรัมในน้ำดื่มให้หนูแรทกินนาน 14 วัน พบว่าเกิดแผลในตับ เซลล์ตับตายกระจัดกระจายและมีการคั่งของเลือดในเส้นเลือดดำ การฉีดสาร emodin และ kaemferol ขนาด 10 มิลลิกรัม เข้าช่องท้องหนูแรทติดต่อกัน 14 วัน หรือฉีดสาร aloe-emodin ขนาด 100 มิลลิกรัม สาร rhein ขนาด 70 มิลลิกรัม เข้าช่องท้องนาน 4 วัน พบว่าเกิดแผลในตับของหนูทุกกลุ่ม กลุ่มที่ได้รับ aloe-emodin จะพบเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย หนูทุกกลุ่มมีระดับฮีโมโกลบิน และ PCV ลดลงภายใน 14 วัน เมื่อป้อนสารสกัดจากใบด้วยน้ำขนาด 10, 50, 100 และ 250 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ให้หนูแรทนาน 14 วัน จะพบระดับฮีโมโกลบิน และ เม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันหนูมีอาการเบื่ออาหาร ผอมแห้ง และน้ำหนักลด
การศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นโรคกลากและเกลื้อนสารสกัดจากใบชุมเห็ดเทศด้วยแอลกอฮอล์และครีมชุมเห็ดเทศเข้มข้นร้อยละ 20 สามารถรักษาผู้ป่วยโรคกลาก 30 ราย และโรคเกลื้อน 10 ราย ได้ดีเทียบเท่ากับยาขี้ผึ้ง whitfield แต่ไม่มีผลรักษาราที่เล็บและหนังศีรษะ ยาเตรียมชุมเห็ดเทศในรูปแบบทิงเจอร์และครีม (ซึ่งมีสารสำคัญ rhein 600 ไมโครกรัม/กรัม) ให้ผลในการรักษาผู้ป่วยโรคกลากเกลื้อนที่ผิวหนังได้เช่นเดียวกับยาครีมโคลไตรมาโซลร้อยละ 1 สารสกัดใบชุมเห็ดเทศสดด้วยน้ำ (ใบสด 100 กรัมต่อน้ำ 50 มิลลิลิตร) ความเข้มข้นร้อยละ 100 ทาบริเวณแขน และขา หรือความเข้มข้นร้อยละ 90 ทาบริเวณคอ และมือ และความเข้มข้นร้อยละ 80 ทาบริเวณหน้า วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน 2 ชั่วโมง มีผลรักษาโรคกลากเกลื้อนชนิด Pityraisis versicolor ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Malassezia furfur ในผู้ป่วยจำนวน200 คนได้
เอกสารอ้างอิง
ภก.ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ.ชุมเห็ดไทย/ชุมเห็ดเทศ.คอลัมน์ สมุนไพรน่ารู้.นิตยสารหมอชาวบ้าน.เล่มที่ 26 .กรกฎาคม .2524
ฉัตรโย สวัสดิไชย,สุรศักดิ์ อิ่มเอี่ยม.ชุมเห็ดเทศ.ยาน่ารู้.วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า.ปีที่ 34 ฉบับที่4.ตุลาคม-ธันวาคม.2560 หน้า.352-355
ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.“ชุมเห็ดเทศ”. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. หน้า 271-274.
เปี่ยม บุณยะโชติ. ตำราโบราณว่าด้วยโรคเด็กและสุภาพสตรี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เฟื่องอักษร, 2514. หน้า 39.
กองวิจัยทางการแพทย์. สมุนไพรพื้นบ้าน ตอนที่ 1. กรุงเทพฯ: กรมวิทยาศาตร์การแพทย์. กระทรวงสาธารณสุข, 2526. หน้า 34.
ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์. “ชุมเห็ดเทศ Chumhet Tet)”. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1 หน้า 108.
พระเทพวิมลโมลี. ตำรายากลางบ้าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มงกุฏราชวิทยาลัย, 2524. หน้า 140.
ชุมเห็ดเทศ.ฐานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=40
วิทยา บุญวรพัฒน์. “ชุมเห็ดเทศ”. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. หน้า 208.
เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. “ชุมเห็ดเทศ”. หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. หน้า 74-75.
(คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ชุมเห็ดเทศ Ringworm Bush”. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. หน้า 75.
ชุมเห็ดเทศ.ฐานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=53
คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา. บัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ. 2549 ตามประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2549 เรื่องบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2547 (ฉบับที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด, 2549
วันดี กฤษณพันธ์ แม้นสรวง วุฒิอุดมเลิศ มัลลิกา ไตรเดช สุภาวี อาชวาคม. การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อราของสารแอนทราควิโนนจากใบชุมเห็ดเทศ. การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 24, 19-21 ตุลาคม ณ. ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ กรุงเทพฯ, 2541.
Harrison J, Garro CV. Study on anthraquinone derivatives from Cassia alata L. (Leguminosae). Rev Peru Bioquim 1977;(1):31-2.
จินตนา สุทธชนานนท์ และคณะ. ฤทธิ์ต้านเชื้อราของใบชุมเห็ดเทศ. รวมบทคัดย่องานวิจัยการแพทย์แผนไทยและทิศทางการวิจัยในอนาคต สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2543.
Akah PA. Abortifacient activity of some Nigerian medicinal plants. Phytother Res 1994;8(2):106-8.
Plengvidhya P, Suvagondha C. A study of diagnostic contents of leaves of some members in genus Cassia. J Pharm Assoc Siam, Third series 1957;10(1):10-2.
เกษร นันทจิต. ฤทธิ์ต้านจุลชีพของใบชุมเห็ดเทศ (Cassia alata Linn.). รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2538.
เสาวลักษณ์ พงษ์ไพจิตร. ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ของสารสกัดจากพืชสกุล Cassia sp. รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2543.
Thamlikitkul V, Dechatiwonges T, Chantrakul C, et al. Randomized controlled trial of Cassia Alata Linn. for constipation. J Med Assoc Thai 1990;73(4):217-21.
Mokkhasmit M, Swatdimongkol K, Satrawaha P. Study on toxicity of Thai medicinal plants. Bull Dept Med Sci 1971;12(2/4):36-65.
Rao JVLN, Sastry PSR, Poa RVK, Vimaladevi M. Occurrence of kaempferol and aloe-emodin in the leaves of Cassia alata. Curr Sci 1975;44(20):736-7.
นาถฤดี สิทธิสมวงศ์ ทรงพล ชีวะพัฒน์ เอมมนัส หวังหมัด สุธิดา ไชยราช พัชรินทร์ รักษามั่น จรินทร์ จันทรฉายะ. พิษของใบชุมเห็ดเทศ. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2534;33(4):145-54.
Somchit MN, Reezal I, Nur IE, Mutalib AR. In vitro antimicrobial activity of ethanol and water extracts of Cassia alata. J Ethnopharmacol 2003;84:1-4.
Fuzellier MC, Mortier F, Lectard P. Antifungal activity of Cassia alata L. Ann Pharm Fr 1982;40(4):357-63.
Benjamin TV. Analysis of the volatile constituents of local plants used for skin disease. J Afr Med Pl 1980;(3):135-9.
Ibrahim D, Osman H. Antimicrobial activity of Cassia alata from Malaysia. J Ethnopharmacol 1995;45:151-6.
Elujoka BA, Ajulo AA, Iweibo GO. Chemical and biological analysis of Nigerian Cassia species for laxative activity. J Pharm Biomed Anal 1989;7(12):1453-1457.
Palanichamy S, Nagarajan S. Anti-inflammatory activity of Cassia alata leaf extract and kaempferol 3-O-sophoroside. Fitoterapia 1990;61(1):44-7.
แก้ว กังสดาลอำไพ วรรณี โรจนโพธิ์ ชนิพรรณ บุญยี่. การประเมินฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ของสมุนไพรไทยในรูปของยาตำรับสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และสมุนไพรบางชนิด โดยวิธีเอมส์เทสต์. การประชุมวิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 3, 3-4 ธันวาคม, กรุงเทพฯ 2533. หน้า 47-9.
Sodipo OA, Effraim KD, Emmagun E. Effect of aqueous leaf extract of Cassia alata (Linn.) on some haematological induces in albino rats. Phytother Res 1998;12(6):431-3.
Lagarto PA, Silva YR, Guerra SI, Iglesias BL. Comparative study of the assay of Artemia salina L. and the estimate of the medium lethal dose (LD50 value) in mice, to determine oral acute toxicity of plant extracts. Phytomedicine 2001;8(5):395-400.