ปวดประจำเดือน บรรเทาด้วยหลัก 6 ข้อ

การ ปวดประจำเดือน ในช่วงระหว่างมีประจำเดือน กล้ามเนื้อที่มดลูกจะบีบและคลายตัวมากกว่าปกติ ทำให้ผู้หญิงอาจรู้สึกไม่สบายหรือปวดเกร็งบริเวณท้องน้อยได้ ซึ่งวิธีบรรเทาอาการนั้นทำได้หลากหลายวิธี ได้แก่

  1. ลดปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความตึงเครียด>>
  2. หลีกเลี่ยงอากาศเย็น>>
  3. ลดการออกกำลังกายในสัปดาห์ที่มีประจำเดือน หรือถ้าปวดประจำเดือนมากให้งดการออกกำลังกาย>>
  4. งดไอศกรีม งดเครื่องดื่มแช่เย็น งดอาหาร/เครื่องดื่มใส่น้ำแข็ง>>
  5. กินอาหารที่ย่อยง่าย งดหรือลดกินอาหารรสจัด>>
  6. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์>>
  7. สรุป : เคล็ดลับ>>

1.ลดปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความตึงเครียด

เช่น ลดความคาดหวัง บริหารเวลาทำงานช่วงมีประจำเดือน จัดแบ่งเวลาเพื่อผ่อนคลายร่างกาย สิ่งหนึ่งที่จะช่วยได้คือทำจิตใจให้สบาย ช่วงนี้จะหงุดหงิดมากกว่าธรรมดา ทุกครั้งที่หงุดหงิดก็หามุมสักมุมให้ตัวเอง นั่งเอนหลัง หลับตา หายใจเข้าลึกๆ เอาจิตอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกสัก 4-5 นาที ถ้าทำได้เช่นนี้จะไม่ทรมาน หรือเป็นกังวลกับวันนั้นของเดือน

2.หลีกเลี่ยงอากาศเย็น

ถ้าต้องอยู่ในห้องปรับอากาศให้ใส่เสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่นกับร่างกายในช่วงที่เป็นและมีอาการ สิ่งที่จะช่วยได้คือเอาความร้อนประคบ เช่น แผ่นร้อนไฟฟ้า ถุงน้ำร้อน วางบนหน้าท้อง หรือบริเวณที่มีอาการ เช่น หลัง ก้น ต้นขา แต่ก่อนวางต้องมีผ้าเช็ดตัววางก่อนถึงผิวสัก 1-2 ชั้น แล้วค่อยวางเพื่อให้ความร้อนค่อยๆ ซึมเข้าด้านในและจะได้ไม่แสบผิว

3.ลดการออกกำลังกายในสัปดาห์ที่มีประจำเดือน หรือถ้าปวดประจำเดือนมากให้งดการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายในช่วงมีประจำเดือนส่วนใหญ่ยังคงทำได้ เพียงแต่อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อย เช่น ลดการออกกำลังกายที่หนัก หรือลดระยะเวลาในการออกกำลังกายลงเล็กน้อย

สำหรับคนที่ออกกำลังกายในช่วงมีรอบเดือนแล้วรู้สึกเหนื่อยล้าผิดปกติ แนะนำให้ลดการออกกำลังกายประเภทคาร์ดิโอหรือการฝึกความทนทานของกล้ามเนื้อลง และเน้นออกกำลังกายแบบง่ายๆ เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายอาจต้องออกแรงมากกว่าปกติ ส่งผลให้การออกกำลังกายที่มีความยากในระดับปานกลางกลายเป็นเรื่องยากกว่าเดิมไปอีก

4.งดไอศกรีม งดเครื่องดื่มแช่เย็น งดอาหาร/เครื่องดื่มใส่น้ำแข็ง

คนที่มีประจำเดือนนั้นไม่ควรกินของเย็นๆ ใครก็รู้กันดีอยู่แล้ว เพราะของเย็นๆ นั้นจะยิ่งทำให้อาการปวดท้องประจำเดือนนั้นเลวร้ายลงไปอีก และที่สำคัญในไอศกรีมนั้นจะมีนมเป็นส่วนประกอบอยู่มาก ซึ่งจะทำให้อาการปวดท้องเป็นหนักขึ้นเรื่อยๆ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมคนที่กินของเย็นเวลามีประจำเดือนจึงมักจะปวดท้องอย่างรุนแรงนั่นเอง

5.กินอาหารที่ย่อยง่าย งดหรือลดกินอาหารรสจัด

อาหารรสเผ็ด ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ไม่ได้มีผลต่อมดลูกโดยตรง แต่อาจทำให้ร้อนท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ ซึ่งส่งผลต่ออาการช่วงมีประจำเดือนได้
เนื้อสัตว์ / เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู
มีธาตุเหล็ก ช่วยทดแทนเลือดที่เสียไป แต่มีสารโพรสตาแกลนดิน (prostaglandins) มากเช่นกันซึ่งอาจทำให้มดลูกบีบตัวและปวดประจำเดือนได้

อาหารที่แนะนำช่วงมีประจำเดือน

  1. ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ
    • ปริมาณน้ำที่แนะนำอย่างน้อย 2.7 ลิตร ต่อวัน
    • ช่วยทดแทนการเสียเลือด ช่วยให้ลดอาการปวด/มึนศีรษะ
    • ช่วยลดอาการท้องอืด
  2. อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง (ได้แก่ ปลา ไก่ ผักใบเขียว เช่น ผักโขม คะน้า) ช่วยทดแทนการเสียธาตุเหล็กจากการเสียเลือด
  3. อาหารโปรตีนสูงและอาหารกากใยสูง ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้พลังงานคงที่ ไม่หิวง่าย
  4. โอเมกา3 (Omega-3 / Fish oil) ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน ช่วยลดอารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้าหรือเหวี่ยง
  5. สมุนไพรบางชนิด ได้แก่ ขิง อบเชย ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน ได้ อย่างไรก็ตามไม่ควรรับประทานมากเกินไป
  6. อาหารที่มีวิตามินและเกลือแร่

6.งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เครื่องดื่มแอลกออฮอล์จะทำให้ท้องอืด และมีน้ำคั่งค้างในร่างกายมากเกินไป และไม่ควรสูบบุหรี่เพราะนิโคตินจะทำให้หลอดเลือดแคบลง และทำให้เลือดไหลเวียนไปที่มดลูกน้อยลงจะทำให้อาการปวดยิ่งแย่ลงไป ส่วนผลให้เกิดหลอดเลือดตีบตามมา ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการทานแอลอฮอล์และการสูบบุหรี่ สำหรับผู้ที่มีอาการปวดประจำเดือนเป็นประจำ

สรุป : เคล็ดลับ

  • หากคุณมีอาการปวดอย่างรุนแรงหรือรู้สึกว่าอาจเกิดปัญหาขึ้นโปรดติดต่อผู้ให้บริการด้านสุขภาพเพื่อปรึกษาถึงอาการนั้น อาการปวดนั้นอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติที่ต้องอาศัยการรักษา เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ผิดปกติ, เนื้องอกในมดลูก, โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ (PID), ความพิการแต่กำเนิด หรือมะเร็ง
  • สัญญาณและอาการอื่นๆ ที่ควรไปพบแพทย์ก็รวมถึงอาการไข้ อาเจียน เลือดประจำเดือนออกมามากติดต่อกันนานเกิดสองชั่วโมง มึนหัวหรือหน้ามืด ปวดกระทันหันหรือปวดหนักมาก ปวดไม่เหมือนกับที่เคยปวดปกติ ปวดเมื่อปัสสาวะ และปวดเมื่อทำกิจกรรมทางเพศ
  • ลองนอนลงและเอาขวดน้ำร้อนวางบนท้อง
  • เบี่ยงเบนความสนใจไปดูหรืออ่านหรือทำบางอย่างที่น่าสนใจ เพื่อไม่ให้นึกถึงอาการเจ็บอาการปวด
  • ลองรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมให้มากขึ้น เช่น กล้วย
  • ลองนอนคว่ำหรือตะแคงโดยให้เข่าอยู่ใต้ร่างกายของคุณ
  • ลองอาบน้ำให้นานขึ้น แม้จะไม่ช่วยเรื่องประหยัดน้ำ แต่ก็อาจทำให้หายปวดท้องได้
  • ซับน้ำร้อนด้วยผ้าขนหนู แล้ววางบริเวณที่ปวดเพื่อบรรเทาอาการ
  • ห้ามใช้ประคบน้ำแข็งหรืออะไรเย็นๆ มาบรรเทาอาการปวดท้อง
  • การใช้ยาอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารของคุณ การใช้ยาอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดอาการท้องร่วง และร่างกายของคุณอาจดื้อยาได้
  • ลองนอนหงายแล้วทำท่าสะพานโค้ง มันจะช่วยยืดกล้ามเนื้อส่วนท้องได้
  • กินยาและลองนอนหรือผ่อนคลายดู ยาจะช่วยให้คุณผ่อนคลาย และร่างกายก็จะปวดน้อยลง

สรรพคุณ:

ผลิตภัณฑ์ที่ปรุงขึ้นจากสูตรสมุนไพรเฉพาะของบ้านหมอละออง มีทั้งสมุนไพรใช้ภายนอกและสำหรับรับประทาน อุดมไปด้วย สรรพคุณจากสมุนไพร อาทิ รางจืด, พลูคาว, ทองพันชั่ง, ใบน้อยหน่า และว่านหางช้าง เพื่อดูแลบำบัดผิวของคุณที่มีปัญหา ใช้ต่อเนื่อง ได้อย่างปลอดภัย เพราะไม่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณ

สำหรับสตรี :

ช่วยแก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ มากะปริบกะปรอย ประจำเดือนเป็นก้อน มีกลิ่น สีดำคล้ำ แก้อาการปวดท้อง ประจำเดือน บำรุงโลหิต ฟอกเลือด แก้ตกขาว คัน ช่องคลอด มีกลิ่น ขับน้ำคาวปลาหลังคลอดบุตร กระชับช่องคลอด แก้ปวดเมื่อย กษัยเหน็บชา ช่วยให้ผิวพรรณเต่งตึง ผ่องใส มีน้ำมีนวล

วิธีใช้:

รับประทานหลังอาหาร ครั้งละ 1 แก้ว = 30 มล. วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยการทานสมุนไพรที่ช่วยให้เห็นผลดีขึ้น คือทานก่อน อาหาร 15-30 นาที หากทานก่อนอาหารแล้วไม่มึนศีรษะ แนะนำให้ทานก่อนอาหาร

สมุนไพร:

ลูกมะกรูด, แก่นขี้เหล็ก, ไพลแห้ง, มะขามเปียก, ใบส้มป่อย, ดอกคำฝอย, ผักเป็ดแดง, เถาวัลย์เปรียง, ข่าแห้ง, รากชะพลู และสมุนไพรอื่นๆ

[หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่เวปไซต์ กรมการแพทย์แผนไทยและกรมการแพทย์ทางเลือก เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการรักษา รายละเอียดและสรรพคุณ จัดเรียงข้อมูลไว้ให้ สะดวกและง่ายต่อการค้นหาข้อมูลค่ะ]

ขนาด: 950 มล.

เลขทะเบียน อย. ยาแผนโบราณ G453/49