หลายคนคงสงสัย เมื่อตอนได้ใบตรวจเลือด เขาต้องดูค่าไต อย่างไร เขาดูกันตรงไหน ?
หลายคนคงสงสัย ว่าจะรู้ได้ยังไง ว่าตอนนี้ เราเสี่ยงไตเสื่อม หรือไม่ ?
หลายคนคงสงสัย ว่าถ้ารู้ตัวว่า ไตเสื่อม แล้ว เราไตเสื่อม อยู่ระยะไหน ? และ ไตเสื่อม มีกี่ระยะ?
เมื่อพูดถึงค่าไต ใครหลายคน อาจจะดูเพียงแค่ค่าครีอะตินิน (Creatinine) กับ ค่าบัน (BUN) เท่านั้น
แต่จริง ๆ แล้ว การวินิจฉัยของแพทย์ จะดูกันที่ค่า GFR (Glomerular filtration rate) ซึ่งเป็นค่าที่แสดงอัตราการกรองของเสียของไต เพื่อเป็นการแบ่งระยะของ ไตเสื่อม ของเราค่ะ
ถ้าเปรียบเทียบหน้าที่ของไต เพื่อให้เห็นภาพ เข้าใจได้ง่าย ๆ ไต เราก็เหมือนกับเครื่องกรองน้ำ ซึ่งทำหน้าที่กรองน้ำที่ไหลผ่านให้สะอาด แล้วปล่อยออกมาให้เราดื่ม ส่วนไตก็ทำหน้าที่กรองเลือด กรองของเสีย ออกจากร่างกาย ออกมาเป็นปัสสาวะ และทำการดูดซึมสารอาหาร ที่เป็นประโยชน์กลับเข้ามาใช้ในร่างกายค่ะ
สำหรับคนที่ตรวจเลือด แล้วค่า GFR ต่ำ หรือไตเสื่อม ก็แปลว่า แผ่นกรองเริ่มจะทำงานหนักแล้ว กว่าจะกรองได้ใช้เวลานานมาก และกรองได้ปริมาณน้อย ไม่เยอะเหมือนแต่ก่อน เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้ไตวาย เป็นสภาวะที่ไตกรองของเสีย เองไม่ได้แล้วนั่นเอง
เมื่อหมอบอกว่า ไตเสื่อม เราควรทำตัวอย่างไร
ค่า GFR สำคัญแค่ไหน ?
ไตเสื่อม ถ้าเพิ่งเริ่มเป็น ไม่ได้เป็นหนักมาก ก็จะไม่แสดงอาการออกมา หมอก็ไม่ค่อยบอก จึงทำให้ผู้ป่วยไตเสื่อมไม่ค่อยรู้ตัว ว่าตอนนี้ ไตของเราเสื่อม หรือไม่ ส่วนใหญ่ที่ตรวจเจอ ก็มักจะรู้ตัวว่าเป็น ไตเสื่อมระยะที่ 3, 4, 5 กันแล้ว เพราะเริ่ม มีอาการออกชัด ซึ่งบางคน ถึงกับทำใจลำบาก
บางคนที่ตรวจดูค่าไต รู้ว่าเป็น ไตเสื่อม ระยะที่ 5 ต้องเตรียมฟอกไต โดยด่วน…เจอแบบนี้เป็นใครก็ช็อค ทำใจไม่ได้
ไม่ว่าตอนนี้คุณจะอายุเท่าไหร่ ขอแนะนำให้ไปตรวจค่าไต ดูนะคะ เพราะเราจะได้รู้ตัวว่าไตเรายังดีอยู่ไหม?
ถ้าไต เริ่มเสื่อม ต้องดูแลตัวเองอย่างไร ต้องดูแลเพิ่มขึ้นหรือเปล่า โดยเฉพาะคนที่อายุ 50-60 ปี ควรตรวจดูค่าไตอย่างยิ่งเลยค่ะ !!
ซึ่งามปกติเมื่คนเรา อายุ 30ปี ขึ้นไป ไตจะเสื่อมตามธรรมชาติ ร้อยละ 1 ต่อปี
แต่….การที่ไตเสื่อม อย่างรวดเร็ว หรือหยุดการทำงาน ทันที เราเรียกว่า “ไตวายเฉียบพลัน”
ซึ่งอาจจะกลับมาเป็นปกติได้ ถ้าได้รับการดูแลที่เหมาะสม
แต่….ถ้าไตเสื่อมลงอย่างช้าๆ และต่อเนื่อง จะทำให้ไต เกิดความผิดปกติ อย่างถาวร เรียกว่า “ไตเสื่อมเรื้อรัง“
ถ้าเราตรวจเจอเร็วเท่าไหร่ เราก็ยิ่งมีเวลา ดูแลไต ไม่ให้เสื่อม หรือ เสื่อมช้าลง ได้นานขึ้น และ ถ้าพบว่าไตเสื่อม เราก็มีโอากาส ฟื้นฟูไต ให้กลับมาดี กลับมาทำงานได้ เป็นปกติ มากขึ้น และ ก็ไม่ต้องฟอกไตเสมอไป เพราะยิ่งเจอเร็ว ปรับตัวได้เร็ว ก็มีโอกาสในการดูแล ฟื้นฟู ได้ดีกว่านั่นเอง
ระยะของ ไตเสื่อมเรื้อรัง จะแบ่งออกเป็น 5 ระยะ
ระยะที่ 1 ค่า GFR มากกว่าหรือเท่ากับ 90 เป็นค่าปกติ
ค่าการทำงานของไตยังสูง แทบจะเป็นปกติเลยค่ะ จะสามาถตรวจพบความผิดปกติของไต เช่น ปัสสาวะมีตะกอนผิดปกติ แต่ไตก็ยังคงทำงานได้เป็นปรกติ
สำหรับระยะที่ 1 นี้ ควรตรวจเช็ค รายการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ความผิดปกติของหัวใจ เบาหวาน ความดันสูง และหลอดเลือด เพื่อจะได้ดูแลอาการเหล่านั้น เพื่อช่วยชะลอไตเสื่อมได้
การดูแล : คือ ดื่มน้ำเปล่าให้มาก ๆ เพราะไต ของเรา ชอบน้ำสะอาด ชอบอะไรที่ ไต ไม่ต้องทำงานหนัก จะได้กรองง่าย ๆ งดสูบบุหรี่ ดูแลอาการต่างๆ ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด ภาวะไตเสื่อม อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง SLE (เอสแอลอี / ภูมิคุ้มกันผิดปกติ) เก๊าท์ นิ่วในไต ไตอักเสบ การติดเชื้อปัสสาวะซ้ำๆ
เรื่องอาหาร ก็ควร งด หรือ ลด การทานอาหารรสจัด
เมื่อไตเสื่อม ระยะ 1 : เราควรเร่ง ดูแล เพื่อชะลอ ไม่ให้ ไตเสื่อม ไปมากกว่านี้
ระยะที่ 2 => มีค่า GFR อยู่ที่ 60-89%
ค่าการทำงานของไต ผิดปกติเล็กน้อย จะมีค่า Cr 1.2 ไตเริ่มทำงานได้น้อย 3 ใน 4 หรือ 60-90% อัตราการกรองของไตลดลงเล็กน้อย
ซึ่งระยะที่ 2 นี้ เราสามารถดูแลตัวเอง ค่าไต ก็จะกลับไประยะ 1 หรือสามารถกลับไปเป็นปกติได้ ขึ้นกับสาเหตุที่เป็น และปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผล อย่างเช่น อาหาร ยา และภาวะอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ความดัน ของแต่ละคน
การดูแล : ควรดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ ลดทานอาหารรสจัด และลดทานอาหารกลุ่มโปรตีนให้น้อยลงนิดหน่อย เพราะโปรตีน เป็นตัวแปร สำคัญของ ของเสียตัวหนึ่งค่ะ
เมื่อไตเสื่อม ระยะ 2 : ระยะนี้ ต้องดูแลเป็นพิเศษ เพื่อชะลอไตเสื่อม
ระยะที่ 3 => มีค่า GFR อยู่ที่ 30-59%
**ระยะนี้ ทางการแพทย์จะแบ่งย่อยออกเป็น ระยะ 3A ซึ่งจะมีค่า GFR อยู่ที่ 45-59% และระยะ 3B ซึ่งจะมีค่า GFR อยู่ที่ 30-44%
แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน ระยะที่ 3 นี้ถือว่า เป็น ไตเสื่อมเรื้อรัง แล้ว หรือเรียกว่าอีกอย่างว่า เป็น ไตเสื่อมระยะก่อนฟอกไต นั่นเองค่ะ จะมีค่า Cr.1.8 ไตเริ่มทำงานลดลงปานกลาง
ระยะที่ 3 จะเริ่มมีอาการแสดงออกมา จนมีความผิดปกติเกิด ร่วมหลายอย่าง เช่น เริ่มมีความดันสูง มีแคลเซียมในเลือดต่ำ โลหิตจาง (หรือ ซีด) ภาวะเลือดเป็นกรด โพแทสเซียมในเลือดสูง และฟอสเฟตในเลือดสูง เป็นต้น
การดูแล : ควรทานโปรตีนให้น้อยลง และถ้าอยากทานก็ควรทานโปรตีนที่ย่อยง่าย ๆ อย่าง เช่น เนื้อปลาสีขาว หรือ ไข่ขาว เป็นต้น ก็จะช่วยลดของเสียได้
รวมถึงควรเริ่มควบคุมฟอสฟอรัส โซเดียม และ โพแทสเซียมเพิ่มขึ้นมาด้วย เพราะไตเริ่มเสื่อม มากขึ้นแล้วค่ะ
เมื่อไตเสื่อม ระยะ 3 : ควรดูแลอย่างเข้มงวด เพื่อชะลอไตเสื่อม แบบจริงจังค่ะ
ระยะที่ 4 => มีค่า GFR อยู่ที่ 15-29%
เมื่อไตเสื่อม ระยะ ที่ 4 ระยะนี้ ถือว่าเป็นระยะก่อนฟอกไต เช่นกันแต่ไตจะเสื่อม มากกว่า ระยะที่ 3 จะมีค่า Cr.3.6 ไตเริ่มทำงานได้น้อย 1 ใน 4 ส่วน หรือ 15-30% ไตเริ่มวาย อัตราการกรองของไตลดลงมาก
การดูแล : ควรทานโปรตีนให้น้อย ๆ และ ถ้าทาน ก็เน้นทานโปรตีนคุณภาพดี อย่างเช่น เนื้อปลาสีขาวหรือ ไข่ขาว และ คุม โพแทสเซียม โซเดียม และ ฟอสฟอรัส และลดการทานผลไม้ต่างๆ ด้วยค่ะ
และที่สำคัญ ไตเสื่อม ระยะที่ 4 นี้ต้องคอยสังเกต เรื่องอาการบวม ด้วยค่ะ
เมื่อไตเสื่อม ระยะ 4 : ระยะนี้ ต้องดูแล ชะลอไตเสื่อม แบบคร่งครัด และป้องกันภาวะอื่นๆร่วมด้วย และ อาการแทรกซ้อนต่าง ๆด้วยค่ะ
ระยะที่ 5 => มีค่า GFR ต่ำกว่า 15%
ไตเสื่อมระยะ ที่ 5 นี้คือ ไตเสียไปเยอะมากแล้ว ไตทำงานได้น้อยกว่า 15% จากปกติ 100% เรียกได้ว่าเป็น ไตวายระยะสุดท้าย (ESRD) ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแล บำบัดทดแทนไต อย่าง การฟอกไตผ่านเครื่อง การล้างไตหน้าท้อง หรือ การปลูกถ่ายเปลี่ยน ไต ค่ะ
สิ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ : คนที่ล้างไต หรือฟอกไต แล้ว ควรทานโปรตีนให้เยอะไว้ค่ะ เพราะเวลาฟอกไต ร่างกายจะถูกดึงโปรตีนออกไปด้วย (รวมถึงแร่ธาตุหลาย ๆ ตัวด้วย) จึงทำให้ ผู้ป่วยไต มักจะมีอาการ อ่อนเพลีย หมดแรง หรือโหยหิว หลังฟอกไต
และเนื่องจากถูกดึงโปรตีนออกไปทุกครั้ง ถ้าเรากินน้อยเกินไป กล้ามเนื้อก็จะถูกสลายไปเรื่อย ๆ ทำให้ยิ่งผอมลง ยิ่งอ่อนแอ ลงด้วยค่ะ
รวมถึงยังต้องคุมโซเดียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส และน้ำ (ซึ่งเป็นระยะเดียวที่ต้องจำกัดการกินน้ำ ประมาณ 1ลิตรต่อวัน) แบบเคร่งครัดกว่าระยะอื่น ๆ นะคะ
เมื่อไตเสื่อม ระยะ 5 : ต้องดูแล เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดภาวะอื่นๆ แทรกซ้อน และ ดูแลชีวิตให้อยู่ได้ยืนยาว ค่ะ
——————————————————————————————————————————
สรุป ไตเสื่อม มี 5 ระยะ และการดูแลตัวเองแต่ละระยะก็แตกต่างกันออกไปนะคะ เพราะฉะนั้น ถ้าเรารู้ตัวว่าตอนนี้เราไตเสื่อม อยู่ระยะไหน และต้องดูแลตัวเองยังไง เชื่อว่า เราก็พร้อมที่จะอยู่กับ ไตเสื่อม ได้อย่างมีความสุข ส่วนใครที่ยังไม่เคยตรวจค่าไต และมีอายุ 30+ ลองหาเวลาไปตรวจดูค่าไต บ้างนะคะ